ReadyPlanet.com
การเกิดแผลกดทับและการดูแลรักษา

การเกิดแผลกดทับและการดูแลรักษา

แผลกดทับ จะเกิดขึ้นในรายที่มีอาการบาดเจ็บสาหัสหรือคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เช่น เด็กที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองและกระดูกสันหลัง บริเวณต้นคอหรือบริเวณหลังต่ำกว่าคอก็จะทำให้สมอง ไม่สามารถส่งกระแสประสาทไปสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างปกติหรือในรายของผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมองหรือมีปัญหาเกี่ยวกับ กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตในรายที่เกิดอุบัติเหตกระดูกหักต้อง ดึงขาหรือใส่เฝือกอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ในรายหลังผ่า ตัดหรือพูดอย่างเข้าใจ ง่ายๆคือจะเกิดในผู้ที่ไม่สามารถ ขยับตัวหรือช่วย เหลือตนเองได้ หรือผู้ป่วยที่เสียการรับรู้ความรู้สึกในสภาพอากาศในเมืองไทยซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนนี้จะทำให้เกิดขบวนการเมตา อลิซึ่มของเซลล์ทำ ให้เซลล์ขาดเลือดไปเลี้ยง เนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อ บริเวณนั้นตายได้ในภาวะที่ร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียส
 
คุณรู้ไหมว่าเมตาบอลิซึ่มของร่างกายเราจะเพิ่มมากขึ้นถึง 10% ทีเดียว รถเข็นที่คนไข้ใช้นั่ง นั้นทำให้เกิดการเพิ่มของ อุณหภูมิ บริเวณกระดูกที่ก้น ที่เราใช้ลงน้ำหนัก เวลานั่งหรือบริเวณต้นขา มีอุณหภูมิ มากได้ตั้งแต่ 0-1 0 องศาเซลเซียสท่านจะเห็น ว่าผู้สูงอายุจะมีการเคลื่อน ไหวช้าและน้อย ลงไม่คล่องแคล่ว เหมือนก่อน การทานอาหารน้อย ลงบางท่านก็มีโรค แทรกซ้อนต่างๆ ทำให้การเสริมสร้างเนื้อเยื่อน้อยลง ซึ่งเราจะพบว่าผู้ที่มีวัยสูงขึ้นเรื่อยๆ เวลาเป็นแผลแล้วจะ หายช้ามาก
 
นอกจากนั้นความยืดหยุ่นของผิวหนังใน ผู้สูงอายุก็มีน้อยซึ่งเราจะพบว่าในวัยที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนั้นความยืดหยุ่นของผิวหนังจะลดลงถ้าอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปแล้วพบว่าเลือดที่มาหล่อเลี้ยงผิวหนังจะมีการลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้าในรายที่มีการรับประทานอาหาร ไม่ครบตามหลัก โภชนาการ โดยเฉพาะพวกแคลเซียมไนโตรเจนก็จะ ยิ่งทำให้แผล หายช้าลงขึ้นไปอีก
 
ส่วนรายที่มีอาการบวมน้ำจะทำให้เกิดการขัดขวางทางเดินอาหาร และออกซิเจนจากเส้น เลือดฝอยมาเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิดแผลกดทับง่ายเพิ่มมากขึ้น ในรายที่เป็นโลหิตจางการขาดเลือดไปเลี้ยงแผล เนื่องจากขาดฮีโมโกลบินที่เป็นตัวนำออกซิเจนมา เลี้ยงเซลล์น้อยลง แผลจะหายช้า ในภาวะที่มีความ ผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่นโรคเบาหวาน ไทรอยด์ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดแผลกดทับเพิ่มมากขึ้น

สาเหตุการเกิดแผลกดทับ
สาเหตุของการเกิดแผลกดทับ
1. การกดทับ
2. ภาวะทุพโภชนาการ
3. การถูกจำกัดการเคลื่อนไหว การนอนนาน ๆ โดยไม่เคลื่อนไหว
4. การติดเชื้อ
5. การทำงานของระบบประสาทความรู้สึกเสื่อม ( Sensory Loss)
6. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง

--------โดย ปกติแล้วเส้นเลือดจะมีแรงดันของหลอดเลือดฝอย เหมือนท่อน้ำประปา ถ้ามีอะไรพับไว้น้ำก็จะไหลได้เพียงเล็กน้อย ลักษณะเดียวกันกับเส้นเลือดเมื่อถูกทับจนเลือดไม่สามารถ ไหลมาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้จะทำให้บริเวณที่ถูกกดทับ มีการตายของเนื้อเยื่อซึ่งแรงกดมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท เป็น เวลา 2-4 ชม.ทำให้เกิดแผลกดทับ ในบริเวณที่มีกล้ามเนื้อมาก จะทนต่อแรงกดทับได้ดี กรณีของแรงกดที่มากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตราย ต่อเนื้อเยื่อได้เท่ากับแรงกดบ่อยๆ แต่เป็นระยะเวลานาน
-------------------ขณะ ที่มีการนอนบนเตียงหรือนั่งบนรถเข็น ก็จะต้องมีการ เคลื่อนตัวของคนไข้ไม่ว่าจะเคลื่อนตัวเพื่อเปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือทำความสะอาด เมื่อมีการถ่ายออกมาไม่ว่าจะเป็น อุจจาระ ปัสสาวะ หรือแม้แต่เรื่องการอาบน้ำ การลุกจากรถเข็นมานั่งบนเตียง เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดการเสียดสีกับที่นอนหรือที่นั่ง ซึ่งการเสียดสี หรือการไถไปกับพื้น (ที่นอน, รถเข็น ฯลฯ) การไถหรือถู ทำให้เกิดแรงกระทำโดยตรงต่อชั้นหนังกำพร้า จะทำให้เกิด การปริแตกของเนื้อเยื่อได้เร็วขึ้น
-การสังเกตุอาการ
-------หากเกิดรอยแดงที่บริเวณผิวหนัง รอยดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนกลับเป็นสีเดิมของผิวปกติแม้ว่าจะไม่มีอาการแผลกดทับ
แล้ว ก็ตาม นี่เป็นอาการเริ่มต้นของแผลกดทับ รอยแตกของผิวหนังอาจจะเป็นแผลตื้นๆ และสามารถขยายเป็นแผลกว้างและ ขยายใหญ่ขึ้นลามลึกถึงไขมันไปยังเนื้อเยื่อขยายตัวไปยังกล้ามเนื้อและกระดูก หากเกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ที่แผล แผลจะมีสีเขียวคล้ำดำ มีกลิ่นและหนองและอาจจะต้องใช้การตัดทิ้ง เพื่อรักษาอาการ บางครั้งอาจมีขนาดเล็กเมื่อ มองภายนอกแต่ภายในแผลอาจจะมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อพบว่าเกิดรอยแตกหรืออาการดังกล่าวบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
----บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับ

 

 

-----------------ร่างกายของผู้ป่วยขณะนอนน้ำหนักทั้งหมดของผู้ป่วยจะ กดทับลงในส่วนโปนของกระดูก จะเห็นบริเวณหลังและ
สะโพก เป็นส่วนที่มีความเสี่ยงที่สุดจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ เป็นแผลกดทับบริเวณดังกล่าวมีจำนวนมากที่สุดด้วย

บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับ
1. ท่านอนหงาย บริเวณที่เกิดคือ ท้ายทอย ใบหู หลังส่วนบน ก้นกบ ข้อศอก ส้นเท้า
2. ท่านอนคว่ำ บริเวณที่เกิดคือ ใบหูและแก้ม หน้าอกและใต้ราวนม หน้าท้อง หัวไหล่ สันกระดูกตะโพก หัวเข่าปลายเท้า
3. ท่านอนตะแคง บริเวณที่เกิดคือ ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่ กระดูกก้น ปุ่มกระดูกต้นขา ฝีเย็บ หัวเข่าด้านหน้า ตาตุ่ม
4. ท่านั่งนานๆ บริเวณที่เกิดคือ ก้นกบ ปุ่มกระดูกก้น หัวเข่าด้านหนัง กระดูกสะบัก เท้า ข้อเท้าด้านนอก

แผลกดทับแบ่งออกเป็น 4 ระดับ

ระดับที่ 1 เป็นรอยแดงของผิวหนัง
ระดับที่ 2 ผิวหนังกำพร้าถูกทำลายหรือฉีกขาด [ Patial thickness] หรือมีการทำลายชั้นผิวหนังแท้เป็นแผลตื้นๆ
ระดับ ที่ 3 มีการทำลายชั้นผิวหนังลึกลงไป แต่ไม่ถึงพังผืดหรือเอ็นยึดกล้ามเนื้อ เกิดเป็นแผลลึกแต่ไม่เป็นโพรง [ Full Thickness Skin Loss ]
ระดับที่ 4 มีการทำลายผิวหนังลึกลงไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ กระดูก หรือโครงสร้างของร่างกาย

-การป้องกันแผลกดทับ และการพยาบาล
1. ดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับ หรือปุ่มกระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ
2. ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ
3. ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก
4. การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดการเสียดสี
5. ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนังที่ฉายรังสี
6. ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี
7. ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเพราะผู้ป่วย จะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลทำนวนมาก นอกจากนี้ต้องดูแลให้วิตามิน ธาตุเหล็ก และน้ำอย่างสมดุลย์ด้วย
8. ดูแลทำความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเชื้อ มีแนวทางปฎิบัติ ดังนี้

8.1 การทำความสะอาดแผลที่อยู่ในระยะงอกขยาย
- ควรล้างแผลเบาๆ ควรทำเฉพาะผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น หลีกเลี่ยงการขัดถูแผล หรือล้างแผลด้วยแรงดันสูง เพราะจะทำให้สารอาหาร เซลล์ที่กำลังงอกขยาย รวมทั้ง Growth facter ถูกชะล้างออกไปด้วย
- น้ำยาที่ใช้ล้างแผลต้องไม่มีพิษต่อเซลล์ ได้แก่ น้ำเกลือนอร์มัล ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น Povidone - Iodine , Chlorhexidine, Dekin- solution, Hydrogen peroxide ไม่ควรใช้ในระยะงอกขยาย เพราะจะทำลายเซลล์ที่จำเป็นในซ่อมแซมแผล ทำให้แผลหายช้า
8.2 การทำความสะอาดแผลติดเชื้อหรือแผลเนื้อตาย
- ใช้การชะล้างแผลด้วยความดันสูง เพื่อขจัดเศษเนื้อตายและแบคทีเรีย
- ใช้น้ำยาทำความสะอาดแผล ( น้ำเกลือนอร์มัล) หรือน้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลติดเชื้อจากการปนเปื้อน
- กำจัดเศษเนื้อตายและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพราะเป็นแหล่งให้แบคทีเรียเจริญได้ดี จึงควรตัดเล็บออกให้หมด และเซลล์ใหม่จะงอกขยายเจริญมาปกคลุมแผลได้ดี
- กำจัดช่องหรือโพรงที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมีสารคัดหลั่งจากแผลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของ แบคทีเรีย จึงควรทำการอุดช่องหรือโพรงอย่างหลวมๆ ด้วยก๊อสหรือวัสดุที่เหมาะสม
9. อธิบาย ให้คำแนะนำ รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพริกตะแคงตัวและการทำความสะอาดแผล

 




อาการป่วยจากที่นอน

แพทย์แนะท่า “นอนตะแคงขวา” ช่วยให้หลับสบายที่สุด
ว่าด้วยเรื่องของ "คนปวดหลัง"
ปวดหลังสาเหตุและการรักษา



Copyright © 2010 All Rights Reserved.