ReadyPlanet.com
หมอนรองกระดูกสันหลัง

MemoryFoamThai

หมอนรองกระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกสันหลัง
(Intervertebral Disc)


หมอนรองกระดูกสันหลัง
Intervertebral Disc

เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายหมอนรองศีรษะ หน้าตาดังรูปขวามือ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งนิ้วเศษ หนาประมาณหนึ่ง
เซนติเมตร เชื่อมต่ออยู่ระหว่าง กระดูกสันหลัง แต่ละข้อ ตั้งแต่
ระดับคอจนถึงก้นกบ เมื่อนับทั่วแล้วในคนปกติมีทั้งหมด 23 ชิ้น

หมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral disc)
มีลักษณะโดยรวมคล้ายๆโดนัท มีเปลือกเหนียว
ภายนอกเปรียบเสมือนเปลือกขนมปังซ้อนกันเป็นชั้นๆหนาๆ
ลักษณะเป็นวัสดุเหนียวซ้อนเป็นชั้นๆ เป็นวงรอบ ดังรูปซ้าย
เรียกว่าเปลือก แอนนูลัส ไฟโบรสัส (Anulus Fibrosus)
ซึ่งมีหน้าที่ในการเป็นเหมือนปลอกหมอนที่หุ้มไส้หมอนไว้ภายใน
อายุมากขึ้น เปลือก Anulus Fibrosus นี้จะแตกปริฉีกง่ายขึ้น
และเป็นสาเหตุของการเกิด หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้น
HNP , Herniated Nucleus Pulposus

หมอนรองกระดูกสันหลัง มีไส้อ่อนนุ่มอยู่ตรงกลางมีชื่อว่า
นิวเคลียส พัลโพสุส (Nucleus Pulposus)
ไส้อ่อนนุ่มกลางนี้ตอนวัยเด็กจะมีลักษณะคล้ายเจล และค่อยๆ
มีลักษณะแห้งลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งทำให้คุณสมบัติ
ที่ยืดหยุ่นรองรับแรงกระแทกของหมอนรองกระดูกหลังนี้
ค่อยๆลดลงไปด้วยตามวัย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุ
มีการเคลื่อนไหว กระดูกสันหลัง เวลาก้ม-เงยได้น้อยลง
คุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้เช่นนี้ทำให้ กระดูกสันหลัง ทั้งท่อนยาว
โดยรวมยืดหดได้เล็กน้อยตามน้ำหนักตัวและแรงโน้มถ่วงโลก
อีกทั้งสามารถเคลื่อนไหวสัมพันธ์กันได้คล้ายกระดูกงูหรือสปริง
ทำให้ร่างกายสามารถก้ม - เงย บิดตัวซ้าย-ขวาได้ โดยที่
กระดูกสันหลัง แต่ละข้อไม่ทรุดหรือหลุดออกจากกัน
เนื่องจาก หมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่อยู่ใน
ตำแหน่งที่ใกล้กับเส้นประสาท(สีเหลืองภาพซ้าย) ดังนั้น
เมื่อมีการโป่งยื่นหรือแตกเคลื่อน ของ หมอนรองกระดูกสันหลัง
แล้วส่วนที่เรียกว่า Nucleus Pulposus  จะถอยหลังออกมา
กดทับกับเส้นประสาทได้ดังภาพซ้ายมือ ซึ่งก่อให้เกิดอาการ
ปวดร้าวตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับนั้น กลายเป็นโรคที่เรา
เรียกว่า หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
(HNP,Herniated Nucleus Pulposus)
การรักษาโรค หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น
มีหลายวิธี แต่ละวิธีก็ให้ความสำเร็จที่น่าพอใจ
ในระดับหนึ่ง การรักษาควรเริ่มจากการพบแพทย์
รับประทานยา ทำกายบริหารรวมทั้งการทำ
กายภาพบำบัด ขั้นต่อไปคือการฉีดยาระงับการ
อักเสบรอบๆเส้นประสาท(SNRB, Selective
Nerve Root Block)เพื่อลดการบวมอักเสบ
ถ้าถึงที่สุดการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ไม่ได้ผลจึง
ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดซึ่งมีหลายวิธีเช่นกัน
และปัจจุบันแผลมีขนาดเล็กมากดังภาพขวา



ความรู้เรื่องกระดูกสันหลังและกระดูกคอ

กิจวัตรประจำวันทำให้ปวดหลัง



Copyright © 2010 All Rights Reserved.